วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550
สิ่งที่ได้รับจากเรียน
.......... ถ้าจะกล่าวถึงสิ่งที่ได้นั้นมีค่ามากมาย เพราะสิ่งที่ได้รับนั้นประเมินค่าเป็นเงินทองไม่ได้ แต่เป็นประสบการณ์ที่หลากหลาย เหมาะกับยุคปัจจุบันทันสมัยที่กำลังเข้าสู่ยุคแห่งโลกติจิตอล ที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบการทำงานในภายภาคหน้าที่ต้องพึ่งพาเพื่อนจอสี่เหลี่ยมอันทันสมัยนี้ ดังนั้นจึงอยากฝากทุกๆ คน ถ้ามีโอกาสเรียนหรืออบรมทุกอย่างที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้รีบคว้าสิ่งดีๆ เหล่านี้ไว้เถอะค่ะ และที่สำคัญคืออาจารย์ผู้สอน ต้องกล่าวคำว่ากราบขอบพระคุณเป็นอย่างมากที่มอบวิชาความรู้นี้ให้ อย่างเต็มความสามารถและอย่ายงเต็มใจ............
การเรียน Photoshop
Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพหัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น LayerLayer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกันการตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้
ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือWidth : กำหนดความกว้างHeight :กำหนดความสูง(ควรเปลี่ยนหน่วยวัดด้านหลังก่อนกำหนดตัวเลข เช่น inches, pixels, cm ,mm )Resolotion : กำหนดเป็น 300Mode : กำหนดโหมดสี ควรกำหนดเป็น RGB ก่อน เป็นสีของแสง สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสี ก็คือโหมด CMYK
C = Cyan สีฟ้า
M= Mageta สีม่วงแดง
Y=Yellow สีเหลือง
K=Black สีดำ
Content กำหนด BackgroundWhite พื้นจะเป็นสีขาวTransparent พื้นจะเป็นสีใส หรือ โปร่งแสงการเปิดภาพที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้ ไปที่เมนู File > Open เลือก ไฟล์ต่างๆที่ต้องการภาพ หากต้องการมองภาพให้ทำให้เป็น thumbnailsแล้วดับเบิลคลิกที่ภาพจะได้ภาพที่ต้องการการตัดภาพ การตัดภาพในโปรแกรม Photoshop สามารถใช้เครื่องมือได้หลายชนิด เช่นไปที่ Elliptical Marquee tool แล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเป็นเส้นselection ถ้าต้องการยกเลิกมี 3 วิธี
1. คลิกที่ภาพ
2. Ctrl + D
3. ไปที่เมนู Select > Deselect เมื่อลากที่ภาพแล้วใช้ Arrow Key เลื่อน
การสร้างสื่อการเรียนการสอน
****1. สื่อการสอน**** สื่อการสอน
*****หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
ประเภทของสื่อการสอน
*****สื่อการสอน เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างครูผู้สอนและเนื้อหาที่ครูเตรียมมาเพื่อถ่ายทอดไปสู่ตัวนักเรียน หากองค์ประกอบของสื่อการสอนขาดไปไม่มีช่องทางใดเลยจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้ วัสดุ ได้แก่ สื่อที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัสดุต่าง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ อุปกรณ์ ได้แก่ บรรดาเครื่องมือ อุปกรณ์สำเร็จรูป ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตัวของอุปกรณ์นั้นๆเอง การจัดกิจกรรมต่างเกณฑ์การศึกษาสื่อเป็นแหล่งรวมของความรู้ ความรู้มี 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. แหล่งความรู้ที่เกิดจากผู้สอน 2. แหล่งความรู้ที่เกิดจากผู้เรียน 3. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสื่อเป็นศูนย์กลาง 4. แหล่งความรู้ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=5&sub1=2&sub2=1=5&sub1=2&sub2=1
การออกแบบสื่อ
*****องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
หลักในการใช้สื่อ
*****ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอน
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียน
6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้อง
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้น
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการ
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควร
การวัดผลของสื่อและวิธีการ
*****หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้วัสดุ ได้แก่ สื่อที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัสดุต่าง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ อุปกรณ์ ได้แก่ บรรดาเครื่องมือ อุปกรณ์สำเร็จรูป ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตัวของอุปกรณ์นั้นๆเอง
****2. การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก****
****หลักการออกแบบ****
*****การออกแบบที่ดีควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. การจัดองค์ประกอบดี วางตำแหน่งทิศทางของเส้นต่าง ๆ ให้สมดุล มีการให้สี แสง เงาที่ดี มีจุดสนใจโดยเน้นจุดสนใจให้เด่นชัด 2. สื่อความหมายได้ชัดเจน เมื่อผู้ดูดูแล้วจะได้ทราบถึงสิ่งที่ต้องการสื่อความหมาย 3. มีความตัดกันและคมชัด ภาพที่เน้นจุดสนใจจะทำให้ภาพแลดูน่าสนใจ มากกว่าภาพที่ไม่มีการเน้นส่วนสำคัญซึ่งจะทำให้ภาพดูไม่มีมิติ
4. ใช้วัสดุให้เหมาะสม โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
*****ในการออกแบบเพื่อที่จะได้สื่อความหมายให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ควรมีการวางแผนหรือวางโครงร่างคร่าว ๆ ก่อน หลักการที่ทำให้การออกแบบสามารถดึงดูด ความสนใจของผู้ดูมีหลักการดังต่อไปนี้
1. ความง่าย ( Simplify ) หมายถึง ง่ายต่อการสื่อความหมายสามารถเข้าใจได้ทัน ง่ายในการอ่าน และง่ายต่อการนำไปใช้ 2. เป็นเอกภาพ ( Unity ) หมายถึง มีความกลมกลืนกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง สี หรือช่องว่าง 3. การเน้น ( Emphasis ) หมายถึง ออกแบบให้มีแนวความคิดเดียวหรือจุดสนใจเดียว 4. ความสมดุล ( Balance ) หมายถึง น้ำหนักทางซ้ายและขวา จะเท่า ๆ กัน ซึ่งความสมดุลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
....4.1 ความสมดุลตามแบบ ( Formal balance ) คือลักษณะทั้งสองข้างจะเท่ากัน
....4.2 ความสมดุลไม่ตามแบบ,สมดุลด้วยสายตา ( Informal balance ) คือลักษณะทั้งสองข้างจะไม่เหมือนกัน แต่ความรู้สึกเหมือนสมดุลกัน เช่น ภาพใหญ่สีอ่อน จะสมดุลกับภาพเล็กสีเข้ม
*****ในการออกแบบภาพประกอบการสอน การออกแบบแผ่นใส หรือการจัดองค์ประกอบภาพ สามารถใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นแนวทางได้ สิ่งที่จะช่วยให้การออกแบบเร้าความสนใจผู้เรียนยิ่งขึ้น คือ1. เส้น ( Line ) ช่วยนำสายตาผู้ดู
2. รูปร่าง ( Shape ) ช่วยเร้าความสนใจเบื้องต้น 3. พื้นผิว ( Texture ) เพื่อเน้นถึงความแตกต่างและช่วยให้เกิดมิติ
4. สี ( Color ) ช่วยเพิ่มความเหมือนจริง ความแตกต่าง เน้นสิ่งที่ต้องการ ตลอดจนการแสดงออกถึงอารมณ์ของภาพได้เป็นอย่างดี
5. ช่องว่าง ( Space ) เพื่อความเป็นระเบียบ และถ้าเป็นตัวอักษรช่องว่างจะช่วยให้ง่ายต่อการอ่าน